นโยบายและแนวทางการบริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในภาพรวม
ด้วยเหตุผลทางกายภาพที่กล่าวมาข้างต้น ประกอบกับการรับฟังความคิดเห็นของประชาคมจากหลายกลุ่มในรอบหลายปี ที่ผ่านมา ผมจึงขอนำเสนอนโยบายที่ปฎิบัติได้จริงและแนวทางการบริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในภาพรวมที่มีเป้าหมายสัมฤทธิ์ผลภายใน 3 ปี โดยได้จัดแบ่งออกเป็น 8 ภาคส่วน ตามลำดับความสำคัญ ดังนี้
- นโยบายและแนวทางการบริหารด้านการจัดการการเรียนการสอน อย่างมีประสิทธิภาพ
- นโยบายและแนวทางการบริหารด้านกิจกรรมนักศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
- นโยบายและแนวทางการบริหารด้านการจัดการการเงินและงบประมาณและการใช้ทรัพยากรทุกด้านอย่างมีประสิทธิภาพ
- นโยบายและแนวทางการบริหารด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพของคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และบุคลากรสนับสนุนทุกระดับ และสวัสดิการของประชาคมคณะวิศวฯ
- นโยบายและแนวทางการบริหารด้านหลักสูตรวิชาเชิงบริการสังคม (TEP/TEPE และหลักสูตรพิเศษทุกหลักสูตร) และหน่วยงานย่อยเชิงบริการสังคมที่สัมฤทธิ์ผลแบบยั่งยืน
- นโยบายและแนวทางการบริหารด้านวิชาการและงานวิจัยแบบก้าวกระโดด
- นโยบายและแนวทางการบริหารด้านการจัดการเรื่องระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
- นโยบายและแนวทางการบริหารการปรับภาพลักษณ์คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้อยู่ระดับแถวหน้าของประเทศและอาเซียน
.
โดยที่ทั้ง 8 ภาคส่วนนี้ มีความคาบเกี่ยวซึ่งกันและกันและครอบคลุมพันธกิจหลักทุกด้านของมหาวิทยาลัย คือ การเรียนการสอน การบริหารจัดการ การวิจัย/วิชาการ การบริการทางวิชาการแก่สังคม กิจกรรมการพัฒนานักศึกษา การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จากแนวนโยบาย ที่ผมนำเสนอนี้ หากผมมีโอกาสได้รับการไว้วางใจเป็นคณบดี ตัวคณบดีจะทำหน้าที่บริหารจัดการเชื่อมประสาน และสนับสนุน Infrastructure ให้กับประชาคมทุกระดับตามความถนัด หรือความเชี่ยวชาญของแต่ละกลุ่ม/คน โดยผ่านกลไกการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและมีธรรมาภิบาล ซึ่งแน่นอนว่า การบริหารจัดการจะดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ต้องประกอบด้วยทีมงานบริหารที่ดี ซึ่งในปัจจุบันผมได้เตรียมทีมงานบริหารระดับรองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี และผู้อำนวยการสำนักที่เกี่ยวข้องไว้ในระดับหนึ่งแล้ว โดยบุคคลเหล่านี้ต้องเป็นกลุ่มคนที่มีศักยภาพในการทำงาน มีประวัติที่ดี และเป็นที่ยอมรับของประชาคมคณะฯ และสามารถทำงานตอบสนองนโยบายที่ผมนำเสนอตอนต้นได้ ซึ่งหากผมมีโอกาสได้บริหารคณะฯ จะปฏิบัติหน้าที่พร้อมกับทีมบริหารอย่างเต็มความสามารถ และอุทิศตนทำงานเต็มเวลาภายในคณะ แต่ไม่ละเลยการมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอกมหาวิทยาลัย และเวทีนานาชาติ เน้นการมีส่วนร่วมของประชาคมในการบริหารคณะ รวมถึงการตรวจสอบอย่างเป็นระบบ ตามมาตรฐานสากล
สำหรับแผนดำเนินการเพื่อให้บรรลุนโยบายทั้ง 8 ภาคส่วนโดยผ่านพันธกิจต่างๆมีดังนี้
.
พันธกิจด้านการบริหารจัดการ
พัฒนาระบบการจัดสรรงบประมาณในรูปแบบยอดวงเงินรวม ( Consolidate budget ) ทั้งงบประมาณแผ่นดินและงบประมาณเงินรายได้ เพื่อให้เกิดการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและไม่ซ้ำซ้อน
-
สร้างระบบเครือข่ายแหล่งทุนวิจัยทั้งจากภายในประเทศและนอกประเทศ อาทิเช่นแหล่งทุนจากหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ องค์กรเอกชนและองค์กรมหาชน BOI เป็นต้น เพื่อให้คณะได้รับทุนวิจัยเพิ่มในอัตราก้าวกระโดด
-
พัฒนาระบบงบประมาณ การเงิน บัญชี และพัสดุ ให้ครอบคลุมทุกแหล่งงบประมาณและทุกหน่วยงาน เพื่อการกำหนด Unit cost ได้
-
จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการให้ทุกหน่วยงานและบุคลากรมีความเข้าใจในการจัดทำแผนและบริหารความเสี่ยงอย่างถูกต้องและครอบคลุมทุกความเสี่ยง
-
จัดทำแผนพัฒนาอาจารย์ 5 ปี เพื่อรองรับคณาจารย์ที่เกษียณอายุราชการ และเพื่อรองรับหลักสูตรใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้เพื่อรักษาระดับอัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษา 1:20 ตามเกณฑ์สภาวิศวกร และเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา
-
จัดเตรียมระบบต่ออายุราชการเพื่อรองรับคณาจารย์ที่เกษียณอายุราชการในอนาคต
-
ปรับปรุงระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล (HR) ให้แสดงคุณสมบัติด้านการวิจัยและการบริการวิชาการของคณาจารย์ และนำไปใช้ประกอบการจัดผู้สอนและการจัดทีมวิจัย/บริการวิชาการ
-
ปรับปรุงระเบียบต่างๆให้เหมาะสมกับสถานการณ์โดยยึดหลักความเสมอภาค เป็นธรรม และมีธรรมมาภิบาลในการปฏิบัติ
-
ปรับปรุงโครงสร้างและการบริหารจัดการของหน่วยงาน บริหารและธุรการ ให้มีการทำงานในลักษณะเชิงรุกมากขึ้น
-
ปรับปรุงระบบสวัสดิการและเงิน Top up ของบุคลากรคณะ(รวมถึงพนักงานงบรายได้ และพนักงานงบโครงการ)
-
จัดให้มีระบบทุนสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่และบุคลกรสายงานต่างๆทำผลงานวิจัย หรือการวิเคราะห์งานในหน้าที่
-
สนับสนุนให้ตั้งกลุ่ม เพื่อนช่วยเพื่อน (บุคลากรด้วยกันช่วยเหลือให้คำแนะนำกันอย่างเป็นทางการ) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานของบุคลากรคณะ
-
เพิ่มกลไกการเลื่อนตำแหน่ง ปรับตำแหน่งและการปรับวุฒิ ของเจ้าหน้าที่และบุคลกรสายงานต่างๆอย่างมีรูปธรรม
-
จัดให้มีระบบเงินอุดหนุนค่าธรรมเนียมพิเศษสำหรับการรักษาพยาบาลนอกเวลาราชการของบุคลากรคณะ (มีการกำหนดเพดานจำนวนครั้ง)
-
ส่งเสริมกิจกรรมดูงานนอกสถานที่เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ในการทำงาน
-
เปิดช่องทางในการรับฟังปัญหาของเจ้าหน้าที่และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และมีกลไกในการตอบสนองกับปัญหาของเจ้าหน้าที่ฯอย่างเป็นระบบ รวมทั้งกำหนดให้มีตัวแทนเจ้าหน้าที่ฯเข้ามาร่วมเป็นกรรมการบริหารงานคณะฯ เป็นครั้งแรก
-
จัดให้มีระบบดูแลอาจารย์เข้าใหม่และอาจารย์ที่เพิ่งจบการศึกษา และเจ้าหน้าที่เข้าใหม่ เช่น มีระบบพี่เลี้ยง (ช่วยเหลือเรื่องการเริ่มทำงานวิจัย และอื่นๆ)
-
ปฎิรูประบบการรับสมัครนักศึกษาในทุกระดับเพื่อเพิ่มยอดผู้สมัครและดึงดูดผู้สมัครที่มีคุณภาพเลือกคณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. มากขึ้นในทุกโปรแกรมการศึกษา
-
เพิ่มจำนวนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิระดับคณะโดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีชื่อเสียงและมีบทบาทในการกำหนดนโยบายระดับประเทศในปัจจุบัน เข้ามาร่วมให้คำปรึกษาและพัฒนาคณะฯ
-
ปรับปรุง MIS ของระบบนักศึกษาและบุคลากร ระบบการเงินฯ งานวิจัย และประกันคุณภาพ
-
ระบบหลักสูตรวิเทศสัมพันธ์ ศิษย์เก่า และรางวัล
-
ปรับปรุงห้องเรียนและระบบมัลติมีเดียและอุปกรณ์ช่วยสอนภายในห้องเรียนทุกห้อง
-
ปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยภายในคณะทั้งระบบ
-
ปรับปรุงความเชื่อมโยงระหว่างผู้บริหารที่หมดวาระกับผู้บริหารที่มาแทนในแต่ละหน่วยงานให้ต่อเนื่องกันอย่างราบรื่นมากกว่าปัจจุบัน วิธีการหนึ่งอาจทำได้โดยพัฒนาคู่มือ / แนวทางการทำงาน เพื่อประกอบการทำงานในตำแหน่งบริหารระดับรองคณบดี หัวหน้าภาค ผู้อำนวยการสำนัก ให้ครอบคลุมด้านแผนงานบุคลากร งบประมาณ ตลอดจนโครงสร้าง ขอบข่ายงาน และอำนาจในการปฏิบัติงาน
พันธกิจด้านการเรียนการสอน
-
สร้างสรรค์สื่อการเรียนการสอนในรูปแบบสื่อมัลติมีเดียหรือระบบ E-learning
-
จัดทำระบบแบบเรียน/แบบฝึกหัดแบบออนไลน์
-
ปฏิรูปและจัดการรูปแบบการ Flow ของนักศึกษาในการใช้ห้องเรียน
-
เพิ่มจำนวน Research Lab ที่สามารถเชื่อมโยงการศึกษาของนักศึกษาปริญญาตรี เอก อย่างครบวงจร
-
มีระบบอาจารย์คู่ขนานเพื่อเพิ่มศักยภาพเชิงวิชาการของคณะฯ
-
เพิ่มจำนวนทุนช่วยเหลือการศึกษาจากองค์กรภายนอกอย่างก้าวกระโดด
-
จัดตั้งกองทุนเฉพาะเพื่อสนับสนุนนักศึกษาไปแข่งขันกิจกรรมเชิงวิชาการตลอดปี
-
จัดให้มีระบบการสร้างศิษย์ก้นกุฏิ โดยคัดนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทถึงปริญญาเอกภายในคณะฯ โดยมีทุนการศึกษาจากคณะให้/หรือคณะประสานหาทุนจากองค์กรภายนอกให้
-
ปฏิรูปการจัดการโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยนอย่างก้าวกระโดด
-
จัดให้มีระบบโควต้าพิเศษกับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ (เช่น เคยร่วมกิจกรรม
-
โอลิมปิกวิชาการ ผู้มีผลสอบสอบคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ O-NET ได้เต็ม 100 คะแนน หรือผู้ที่ได้รับรางวัลจากการสอบแข่งขันเพชรยอดมงกุฎ เป็นต้น) สามารถเข้าเรียนได้โดย ไม่ต้องสอบคัดเลือก และมีทุนการศึกษาให้หากมีคุณสมบัติตามเกณฑ์
-
สนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมให้แก่นักศึกษา เพื่อสร้างวิศวกรที่มีจิตสาธารณะ
-
จัดทำโซนนิ่ง (Zoning) หรือพื้นที่เฉพาะสำหรับการฝึกงานและสถานที่ทำงานของนักศึกษาที่จบการศึกษา เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าทำงานของนักศึกษาเราในองค์กรชั้นนำของประเทศ เช่นบริษัท ปตท. บริษัทปูนซีเมนต์ไทย บริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันและปิโตรเคมี เป็นต้น
พันธกิจด้านมาตรฐาน
-
ให้มีการพัฒนาหลักสูตร คณะฯ อย่างเป็นระบบ เช่นดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรในระดับปริญญาตรีให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (TQF) สาขาวิศวกรรมศาสตร์และข้อกำหนดของสภาวิศวกร และรองรับกติกานานาชาติที่จะมีผลต่อประเทศใน 6 ปีข้างหน้า
-
ผลักดันให้หลักสูตรของคณะฯ ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลโดยการขอรับรอง ABET: Accreditation Board for Engineering and Technology
-
ผลักดันการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการสอนมากขึ้นเพื่อรองรับ AFTA
-
จัดตั้งคณะกรรมการปรับปรุงและประเมินหลักสูตร
-
พันธกิจด้านการวิจัย/วิชาการ
-
ให้การสนับสนุนการวิจัยที่ชัดเจน และตรงตามความต้องการของประชาคมการวิจัยของคณะฯ ปรับปรุงกำหนดมาตรการการสนับสนุนการวิจัยของคณะฯ ใหม่เพื่อให้เกิดความเหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยให้การสนับสนุน 4 ด้าน ได้แก่ 1. การเพิ่มเงินอุดหนุนการวิจัย 2. การปรับระบบแรงจูงใจเพื่อให้มีการทำวิจัยและจดสิทธิบัตรและการส่งผลงานวิจัย/สิ่งประดิษฐ์เข้าประกวด 3. การส่งเสริมเผยแพร่การวิจัย และ 4. การสนับสนุนการจัดการประชุมวิชาการในระดับนานาชาติ
-
จัดให้มีคลัสเตอร์วิจัยในลักษณะ Area Base เช่น กลุมวิจัยพื้นฐาน วิจัยประยุกต์ และวิจัยเชิงนวัตกรรมและวิจัยเพื่อบริการชุมชน โดยมีการจัดสรรทรัพยากรให้เทียบเท่ากันอย่างเป็นธรรม
-
จัดให้มีระบบส่งเสริม จูงใจให้คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ทำวิจัย/สร้างผลงานทางวิชาการ เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการหรือผู้ชำนาญการในระดับที่สูงขึ้น และมีระบบพี่เลี้ยงโดยดึงศาสตราจารย์วิจัย หรือผู้ชำนาญการเฉพาะทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยมาให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรม (ช่วยเหลือเรื่องเทคนิคการทำงานวิจัย การเขียนข้อเสนอโครงการ การเขียนบทความวิชาการแบบหวังผลตีพิมพ์ และอื่นๆ) ทั้งนี้ต้องมีการจัดทำฐานข้อมูลการดำรงตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ หรือผู้ชำนาญการสำหรับเจ้าหน้าที่เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการส่งเสริมให้ชัดเจน
-
ผลักดันให้คณะเป็นผู้ดำเนินการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ได้เอง (ซึ่งมหาวิทยาลัยมีนโยบายที่ส่งเสริมแนวทางนี้)
-
เชื่อมโยงการการบูรณาการเชิงวิชาการและวิจัยกับต่างคณะอย่างเป็นรูปธรรม เช่น SIIT คณะวิทยาศาสตร์ฯ คณะแพทยศาสตร์ และคณะพาณิชยศาสตร์ฯ
-
ประสานกับมหาวิทยาลัยอย่างแข็งขัน เพื่อจัดให้มีระบบสนับสนุนการวิจัย เช่นมี Post Doc/ศูนย์วิจัยเฉพาะทาง, เครื่องมือสนับสนุนการวิจัย และทุนการศึกษาระดับปริญญาโทและเอก
-
ประสานกับมหาวิทยาลัยอย่างแข็งขัน เพื่อจัดให้มีการจัดตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา (เชิงเทคนิค)เพื่อช่วยให้คำปรึกษา หรือแปลผลงานวิจัยของคณาจารย์ให้สามารถตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติได้
-
มีระบบสนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อเพิ่มยอดการรับนักศึกษาระดับปริญญาโท (แผน ก และ ข) และปริญญาเอกอย่างเร่งด่วน เช่น การบูรณาการกับงบวิจัยแผ่นดิน การทำ Matching Fund กับองค์กรภายนอก
-
เพิ่มบทบาทของคณะฯในการดึงศักยภาพของคณาจารย์เพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการสำหรับแหล่งทุนวิจัยจากหน่วยงานต่างๆ ให้เพิ่มมากขึ้น
-
จัดตั้งศูนย์อบรมเชิงเทคนิควิศวกรรมและการบริหารจัดการเชิงวิศวกรรม ที่ศูนย์พัทยา เพื่อรองรับการขยายหลักสูตรทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่นี่ในอนาคต โดยเน้นผู้อบรม/ผู้เรียนในพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุดและแหลมฉบัง
-
ให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือสังคม เกษตรกรที่ยากจน คนพิการ หรือคนด้อยโอกาส
-
พัฒนาเวปไซด์ และระบบฐานข้อมูลทางด้านการวิจัย ในด้านการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ การรวบรวมผลงานวิจัย/บทความวิจัย ในรูปแบบของไฟล์อิเลคทรอนิกส์ รวมทั้งการจัดทำทำเนียบนักวิจัย เพื่อประโยชน์ทางด้านการสืบค้น มีข้อมูลการวิจัยของอาจารย์ และมีข้อมูลความเชี่ยวชาญของอาจารย์ได้อย่างเป็นระบบ เพื่อใช้ประโยชน์ในการดึงศักยภาพของอาจารย์มาใช้ประโยชน์ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
พันธกิจด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม
-
ผลักดันให้คณาจารย์ภายในคณะได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการวิชาการและกรรมการวิชาชีพในองค์กรต่างๆเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
-
ร่วมมือกับ โครงการ 1 มหาวิทยาลัย 1 จังหวัด ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินในจังหวัดปทุมธานี เช่น โครงการการจัดการผังเมืองและพัฒนาสิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนา Packaging เพื่อเพิ่มมูลค่าในตัวสินค้าพื้นเมือง (OTOP) ของชาวจังหวัดปทุมธานี โครงการวิศวกรรมน่ารู้สำหรับชุมชน และ โครงการอบรมแนะแนวการสร้างอาคารที่พักอาศัยและอาคารพาณิชย์ในเขตจังหวัดปทุมธานี เป็นต้น
-
จัดตั้งทีมนักวิชาการเฉพาะของคณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อให้คำปรึกษาแก่สังคมหรือให้ความรู้แก่สื่อมวลชน ในกรณีมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพวิศวกรรม เช่นการเกิดภัยพิบัติฉุกเฉินกรณีต่างๆ เป็นต้น
-
จัดอบรมสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจในหัวข้อต่างๆที่เป็นประเด็นกับสังคมในสถานการณ์ต่างๆ
พันธกิจด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์กร
-
จัดให้มีการประชุมระหว่างภาควิชา/ สาขา/ โครงการต่างๆ กับผู้บริหารอย่างสม่ำเสมอ
-
สร้าง web page / blogให้อาจารย์และ หน่วยงานย่อยของคณะฯ
-
จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาคม
-
สร้างระบบการสื่อสารระหว่างอาจารย์และนักศึกษา
-
จัดตั้งทีมงานวิเทศน์สัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ของคณะในลักษณะรวมศูนย์ และเพิ่มช่องทางในการสื่อสารกับสื่อทุกประเภททั้งภายในประเทศและนอกประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้จะเชิญนักสื่อสารมวลชนที่มีชื่อเสียงระดับประเทศมาเป็นคณะกรรมการให้คำปรึกษา
-
เพิ่มกิจกรรมการใช้งานระบบ Teleconference ของคณะฯในการบริการสังคม เพื่อหารายได้เข้าคณะฯ
-
จัดตั้งหอเกียรติยศ (Hall of Fame) เพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลสำคัญของคณะตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน (เช่น รายนามคณบดีและคณะผู้บริหาร หัวหน้าภาควิชา ผู้อำนวยการ ผู้ได้รับรางวัลสำคัญ รายชื่อนักศึกษาที่ได้เกียรตินิยมเป็นต้น) อีกทั้งจัดทำหนังสือ หมายเหตุคณะวิศวกรรมศาสตร์ฯ 25 ปี เพื่อบอกเล่าเหตุการณ์และการวิวัฒน์ของคณะฯในรอบ 25 ปี เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและก่อให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรในลักษณะเฉพาะภายในคณะเราสืบไป และเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ให้แก่ประชาคมรุ่นหลัง
-
จัดตั้งห้องนิทรรศการเชิงนวัตกรรม (Innovated Exhibition Room) เพื่อเก็บรวบรวมและรักษาผลงานเด่นของคณะ และไว้เพื่อนำเสนอแขกผู้มาเยี่ยมเยือนคณะในทุกโอกาส
-
ปรับปรุงทัศนียภาพ และจัดให้ทำ Symbolic ที่เป็นเอกลักษณ์มีรูปแบบทันสมัยในอาคารปฎิบัติการของแต่ละภาควิชา เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อแขกผู้มาเยี่ยมเยือนในทุกโอกาส
พันธกิจด้านกิจกรรมการพัฒนานักศึกษา
-
จัดให้มีระบบเชื่อมโยงศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันอย่างเป็นระบบ เช่นจัดให้มีกิจกรรมกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และคณาจารย์ เป็นต้น
-
เปิดช่องทางในการรับฟังปัญหาของนักศึกษา และมีกลไกในการตอบสนองกับปัญหาของนักศึกษาอย่างเป็นระบบ เช่น การเปิดช่องทางในการรับฟังปัญหาของนักศึกษาในหลาย ๆ ช่องทาง ประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาได้รับรู้ และมีแนวทางที่ชัดเจนในการตอบสนองความต้องการของนักศึกษา รวมทั้งกำหนดให้นายกสมาคมศิษย์เก่าฯ เข้ามาร่วมเป็นกรรมการบริหารงานคณะฯ เป็นครั้งแรก
-
การจัดการความรู้ในการดำเนินกิจกรรมของนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาที่มีบทบาทในการเข้ามาบริหารได้มีโอกาสเรียนรู้จากความรู้ที่มีอยู่ในเจ้าหน้าที่และรุ่นพี่ เช่น การจัดทำคู่มือในการจัดทำโครงการการจัดทำงบประมาณ เบิกจ่ายงบประมาณ การบัญชี และการจัดทำรายงานทางการเงินต่าง ๆ
-
จัดให้มีกองทุนสิ่งประดิษฐ์และผลงานวิจัยของนักศึกษาเพื่อการประกวด เพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันสิ่งประดิษฐ์-นวัตกรรม ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
-
ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนา กนวศ. อย่างมั่นคงและยั่งยืน ด้วยองค์ประกอบของนักศึกษาจากหลากหลายสาขาวิชา และชั้นปี เพื่อที่จะสามารถถ่ายทอดงานจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง
-
สนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มของนักศึกษาที่มีแนวคิด ความสนใจ คล้ายๆกัน โดยให้จัดเป็นลักษณะของชุมนุมก่อน แล้วค่อยพัฒนาเป็นชมรม โดยสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากสังคมออนไลน์ในการรวมกลุ่มของนักศึกษา
-
ส่งเสริมการใช้กิจกรรมนักศึกษาเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมความสามัคคีในคณะ เพื่อลดการแบ่งแยกระหว่างนักศึกษาปกติกับนักศึกษาโครงการพิเศษต่างๆ
-
สนับสนุนให้เกิดชุมนุมวิชาการ เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้องอย่างเป็นระบบ เริ่มที่วิชาพื้นฐานก่อน เช่น แคลคูลัส ฟิสิกส์ Computer Programming และอบรมการใช้ Software ต่างๆเป็นต้น
-
ส่งเสริมชมรมกีฬาต่างๆ ในการจัดประเพณีการแข่งขันกีฬาของแต่ละชมรม
-
สนับสนุนให้นักศึกษารวมตัวกันคิดกิจกรรมที่ต้องการทำ แล้วขอการสนับสนุนจากคณะโดยประสานงานผ่าน กนวศ.
-
เชิญวิทยากรจากภายนอกมาบรรยายให้ความรู้และแง่คิดเป็นระยะๆ เช่น อบรมการสร้างภาวะผู้นำให้แก่นักศึกษา
โดยมีดัชนีวัดผลสัมฤทธิ์จากการบริหารงานอย่างเด่นชัดและสามารถตรวจสอบได้ ภายใน 3 ปี มีดังนี้
-
คณะวิศวฯจะถูกจัดลำดับให้ เป็น 1 ใน 2 คณะแรก ที่ได้รับการประเมินเชิงคุณภาพในทุกมิติในระดับสูงสุดของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นคณะเสาหลักของมหาวิทยาลัยในการสร้าง KPI สากลเพื่อคงสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ (NRU) ตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย มธ.
-
มีภาควิชาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. อย่างน้อย 1 ถึง 2 ภาควิชา ที่ถูกจัดลำดับให้เป็นภาควิชาที่ดีที่สุดในประเทศทางด้านการวิจัย และภาควิชาที่เหลือมีอันดับที่ดีขึ้น
-
มีจำนวนหน่วยวิจัยเฉพาะทาง (Center of Excellence) ภายในคณะอย่างน้อย 2 ถึง 3 หน่วยที่ได้รับการยอมรับให้เป็นหน่วยวิจัยเฉพาะทางที่ดีที่สุดของประเทศ
-
มีจำนวนหน่วยวิจัยเฉพาะทาง (Center of Excellence) ภายในคณะที่ได้รับทุนระดับสูงจากมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น 50 เปอร์เซ็นต์
-
มียอดเงินบริจาคจากองค์กรต่างๆรวมทั้งศิษย์เก่าเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภายในคณะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์
-
มีจำนวนคณาจารย์ที่ได้รับตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 20 เปอร์เซ็นต์
-
มีจำนวนคณาจารย์ที่ได้รับทุนจากแหล่งภายนอกเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์
-
มีจำนวนคณาจารย์ที่ได้รับทุนจากมหาวิทยาลัยประเภทต่างๆเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์
-
มียอดเงินทุนที่ได้รับจากแหล่งทุนต่างๆเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์
-
มีจำนวนคณาจารย์ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการวิชาการและกรรมการวิชาชีพในองค์กรต่างๆเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์
-
มีจำนวนผลงานที่ได้รับการจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 200 เปอร์เซ็นต์
-
มีจำนวนโครงการร่วมมือทางวิชาการกับต่างคณะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์
-
มีจำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนานาชาติเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์
-
มีจำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์
-
มีจำนวนผลงานวิจัยที่นำเสนอในการประชุมวิชาการเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์
-
มีจำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัลจากองค์กรต่างๆเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์
-
มีการเลื่อนตำแหน่ง ปรับตำแหน่งและการปรับวุฒิ ของเจ้าหน้าที่และบุคลกรสายงานต่างๆเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์
-
มีจำนวนเจ้าหน้าที่และบุคลกรได้รับรางวัลจากมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์
-
มีจำนวนผลงานนักศึกษาได้รับรางวัลจากองค์กรต่างๆเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์
-
มีจำนวนโครงการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศเพิ่มขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์
-
มีรายวิชาที่ทำการเรียนและสอนโดยระบบ E_Learning เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์
-
มีจำนวนโครงการบริการสังคมและชุมชนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์
-
มีจำนวนโครงการที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือสังคม เกษตรกรที่ยากจน คนพิการ หรือคนด้อยโอกาสเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์
-
มีจำนวนข่าวประชาสัมพันธ์คณะฯที่ปรากฏในสื่อต่างๆภายนอกมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น 100 เปอร์เซ็นต์
-
ผลจากการประชาสัมพันธ์เชิงรุกและการปรับภาพลักษณ์ของคณะอย่างก้าวกระโดด ทำให้ลำดับการเลือกเข้าเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. เลื่อนขึ้นจากอันดับ 6 เข้าสู่ 4 อันดับแรกของประเทศ
-
ผลจากการประชาสัมพันธ์เชิงรุกและการปรับภาพลักษณ์ของคณะอย่างก้าวกระโดด ทำให้มียอดจำนวนผู้สมัครของบัณฑิตศึกษาระดับปริญญาโทและเอก ทุกโปรแกรมในคณะฯเพิ่มขึ้น อย่างน้อย 25 เปอร์เซ็นต์ และมียอดผู้สมัครโครงการ TEP/TEPE เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์และมีจำนวนนักศึกษาต่างชาติในคณะฯเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 20 เปอร์เซ็นต์
ดัชนีวัดผลสัมฤทธิ์ที่กล่าวข้างต้นหลายคนอาจคิดว่าคงทำได้ยากหรือเป็นไปไม่ได้ แต่สำหรับผมแล้วจากประสบการณ์การทำงานหลายหน้าหลายมิติและการคิดนอกกรอบ ผมจึงยืนยันอีกครั้งว่าผมสามารถทำพันธกิจทุกอย่างให้สำเร็จได้ไม่ยากตามที่ประกาศไว้ โดยที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานในชีวิตประจำวันของคณาจารย์และเจ้าหน้าที่และบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้น้อยที่สุด เพราะตลอดการทำงานของผม ผมมักจะทำสิ่งที่ยากให้เป็นไปได้เสมอ
.
top |